Facebook
Twitter
LINE

เชื่อว่าตอนนี้ ความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 รอบที่สอง กำลังกลับมาอีกครั้ง…

แต่เชื่อว่าสำหรับหลายคน “ความกังวลครั้งนี้” จะต่างออกไปจาก “ความกังวลในครั้งแรก”

ในตอนแรกโรค เมื่อโควิด-19 เป็นใหม่ที่เรารู้จัก ผู้คนเลยกังวลในส่วนของ “การติดเชื้อ” ทำทุกทางเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้มากที่สุด

แต่จากบาดแผลความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

ความกังวลในครั้งนี้จึงมีเรื่องของ “เศรษฐกิจ” และปากท้อง เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มากกว่าแค่กังวลติดเชื้อเหมือนเดิม..

 

แล้วถ้าเกิดการล็อกดาวน์ไปทั่วประเทศอีกครั้ง จะมีผลอย่างไร!?

แน่นอนว่าในแง่ของการควบคุมโรค มันแสดงให้เห็นแล้วว่าสุดท้ายสามารถจัดการให้ตัวเลขคนติดเชื้อเหลือ 0 ได้

แต่เราแลกกับอะไรมาบ้าง..

ข้อสำคัญข้อแรก เราแลกกับการทำงานอย่างหนักของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐ

ต่อมา เมื่อประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว 20% ของ GDP เมื่อคนเดินทางไม่ได้ เท่ากับว่ารายได้เหล่านั้นหายไป

โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถ้าเทียบกับปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 8.7 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 380,000 ล้านบาท

การท่องเที่ยวในประเทศช่วงล็อกดาวน์หนักๆ 2 เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม คิดเป็นรายได้ที่หายไปประมาณ 180,000 ล้านบาท

อุตสาหกรรมส่งออก กระทบทั้งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการที่โรงงานหลายแห่งต้องหยุดทำงาน

โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ตัวเลขยอดขายรถในไทยช่วงเมษายนและพฤษภาคม ลดลงไปกว่า 50% ถ้าเทียบกับในปี 2019

ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน +2.1% แต่ในเดือนพฤษภาคม ตัวเลขส่งออกลดลง -22.5%

เมื่อภาคธุรกิจหลักๆ อย่างท่องเที่ยวและส่งออกกระทบ กลายเป็นลูกโซ่ถึงภาคธุรกิจอื่นๆ

มีรายงานว่าจากประมาณ 747,000 บริษัทในไทย ก่อนล็อกดาวน์มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องอยู่แล้วประมาณ 100,000 บริษัท

พอล็อกดาวน์ 2 เดือน ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอีกเป็นประมาณ 190,000 บริษัท

บริษัทขนาดเล็ก มีสัดส่วนขาดสภาพคล่องและได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ ร้านอาหาร โรงแรม สถานบันเทิงและบริการสันทนาการ

พอรายได้และสภาพคล่องหายไป ส่งผลให้มีการปิดกิจการ รวมถึงการเลิกจ้างงาน

พอมีการเลิกจ้างงาน ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะต้องเข้ามาเยียวยาประชาชน

ทำให้ตัวเลขของหนี้สาธารณะ กำลังจะเพิ่มขึ้นจากระดับ 42% ไปอยู่ในระดับเกือบ 60% ในปีหน้า

พอมีการเลิกจ้างงาน ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะต้องเข้ามาเยียวยาประชาชน

ทำให้ตัวเลขของหนี้สาธารณะ กำลังจะเพิ่มขึ้นจากระดับ 42% ไปอยู่ในระดับเกือบ 60% ในปีหน้า

 

ในขณะที่การเติบโตของขนาดเศรษฐกิจ (GDP) ไทยปีนี้ จากการประเมินของสถาบันต่างๆ ก็พบว่า

ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมิน -8.10%

ธนาคารโลก ประเมิน -5.20%

ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมิน -7.5%

IMF ประเมิน -7.70%

หรือแย่สุดอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา มองว่าเศรษฐกิจไทย หดตัวถึง -10.3%

และเชื่อว่าถ้ามีการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ ตัวเลขดังต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น น่าจะเลวร้ายไปกว่านั้นอีก..

 

แม้ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าควบคุมโรคดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเป็น 0 ติดต่อกันมาเกือบ 2 เดือน

แต่นั่นก็ย่อมแลกด้วยความเสียหายทางเศรษฐกิจที่บอบช้ำพอสมควร

จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า ระหว่างการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็หยุดชะงัก

กับการผ่อนคลายมาตรการลง (หรือแบบบางประเทศที่แทบจะเปิดเป็นปกติ) แต่ก็ต้องแลกด้วยตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มากกว่าประเทศอื่น

ถ้าจะเลือกทางหนึ่งไปเลย อีกทางหนึ่งก็จะต้องเจ็บหนัก

หรือถ้าจะค่อยๆ ผ่อนปรนไปสองทาง ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่ามันจะไม่เจ็บหนักทั้งคู่อีก

 

เพราะฉะนั้นผมเลยอยากจะปิดบทความ ด้วยคำถามที่ว่า..

หากมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งจริงๆ แล้วคุณอยู่ในจุดที่ออกคำสั่งได้ จะมีมาตรการหรือวิธีรับมือมันอย่างไรบ้าง!?

 

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

ไทยคุมโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ แต่ทำไมเศรษฐกิจไทย ยังหดตัวสูงสุดในเอเชีย!?

ประเทศไทย เสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไปมากแค่ไหนแล้วในปี 2020!?

สรุปยอดขายรถยนต์ไทย ช่วงวิกฤติโควิด-19 ทรุดหนักแค่ไหน!?

สรุป 4 ครั้งที่ประเทศไทย GDP ติดลบ เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง!?

news.thaipbs.or.th/content/293470

www.toyota.co.th/sales_volume/

www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-06/here-s-why-thailand-s-dire-economic-outlook-is-the-worst-in-asia?sref=sgn2IOkw

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...