Facebook
Twitter
LINE

คำถามที่ว่า “แล้วคุณใช้ Windows แท้รึเปล่า??”

กลายมาเป็นคำถามฮิตติดปาก เมื่อมีการถกเถียงเรื่องลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ไทยเสมอมา

รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคนี้

ทาง BSA ผู้ทำการสำรวจระบุว่า แถบเอเชียแปซิฟิก มีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์เฉลี่ย 57%

โดยเฉพาะประเทศไทย ที่อัตราดังกล่าวพุ่งสูงถึง 66%

คิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึงปีละ 23,000 ล้านบาท!!

 

อ๊ะ.. แต่ในแง่ร้ายก็ยังมีเรื่องดีๆ เนื่องจากอัตรา 66% ของประเทศไทยนั้น ยังลดลงจากสองปีก่อนหน้าที่ 69%

ตัวเลขที่ลดลง 3% นี้ เป็นสัญญาณที่ดีว่าคนไทยเราเริ่มเห็นคุณค่า และหันมาใช้งานบริโภคซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายกันมากยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลการใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์

 

เหตุผลหลักที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน??

ถ้าจะถามว่าอะไรคือเหตุผลหลักที่ใช้โปรแกรมผิดลิขสิทธิ์ ผลการสำรวจเผยว่าอันดับต้นๆ คือเรื่องของ “ราคา”

หลายคนมองว่าการใช้แบบถูกลิขสิทธิ์นั้นช่วยให้พวกเขาสบายใจ ใช้งานง่าย

ไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีพลิกแพลงติดตั้งโปรแกรมในแบบต่างๆ หรือไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับภัยร้ายที่แฝงมาในโปรแกรมอีกด้วย

แต่คนที่สำรวจมา โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ให้ข้อมูลว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อโปรแกรมในระดับ 35-100% ของรายได้ต่อเดือน เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าสำหรับพวกเขา

และสะดวกใจที่จะใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนแม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องผิดก็ตาม

ซึ่งนั่นตามมาด้วยปัญหาสำคัญก็คือ “ปัญหาด้านความปลอดภัย”

โดยเฉพาะการแฝงโปรแกรมไม่พึงประสงค์เข้ามาในไฟล์ติดตั้งโปรแกรมเถื่อน จนนำไปสู่ความเสียหายของผู้ใช้งานเอง

รวมถึงการติดตามดูแลผู้ใช้งาน ซึ่งบางครั้งตัวโปรแกรมมีช่องโหว่ ให้เหล่ามิจฉาชีพเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

ผู้พัฒนาจึงมักจะออกตัวอัปเดตแก้ไขข้อบกพร่อง อัปเดตความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานอยู่เสมอ

แต่บางคนที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน พอไม่ได้รับการอัปเดตแล้วเจอปัญหาขึ้นมา ก็กลับไปกล่าวโทษผู้พัฒนาเสียด้วยซ้ำ…

 

ทำอย่างไรให้คนหันมาใช้โปรแกรมถูกลิขสิทธิ์

พูดถึงเรื่องโปรแกรม ก็ต้องพูดถึงบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ของโลกอย่าง Microsoft

(ใช่ครับ คุณเดาไม่ผิด.. อีกเหตุผลก็คือ Microsoft เป็นผู้สนับสนุนใจดีของบทความนี้นั่นเอง)

ซึ่งในปี 2017 นั้น Microsoft ทำรายได้สูงถึงประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท

โดยแบ่งออกเป็นรายได้จากกลุ่ม Microsoft Office สูงถึง 820,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนกว่า 23%

ถ้าคนไม่ใช้โปรแกรมถูกลิขสิทธิ์กันมากขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลต่อรายได้ของบริษัทในด้านนี้ด้วย

 

การที่จะดึงดูดให้คนกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องราคา หันมาใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ พวกเขามุ่งไปยังหลักการที่ว่า

“ทำราคาให้ไปอยู่ในจุดที่ลูกค้าสะดวกใจจะจ่าย จ่ายตามที่ใช้ ซึ่งเป็นโมเดลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคนี้ ซึ่งทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น”

จากเดิมที่คุณอาจจะต้องจ่ายเงิน 19,999 บาท เพื่อซื้อโปรแกรมมาติดตั้งใช้งาน

คุณก็มีอีกทางเลือก นั่นคือชำระค่าบริการแบบรายเดือน เพื่อใช้บริการ Microsoft Office ได้เช่นกัน

 

 

คุณอาจจะคิดว่ารายเดือนเก็บกันเท่าไร?? หลักพันเลยรึเปล่า??

แต่กลับถูกกว่านั้นมาก อย่างเช่น Office 365 Business

ซึ่งมีโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Word, Excel และ PowerPoint

พ่วงมาด้วยบริการเก็บข้อมูลบน OneDrive ทั้งหมดนี้ในราคาเดือนละประมาณ 260 บาท

 

หรือจะเป็นในรุ่น Office 365 Business Essentials

ระบบที่จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการให้สามารถทำงาน จัดการธุรกิจ ทั้งในด้านคนทำงาน สินค้า และการขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวก

ซึ่งมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 80 บาทต่อเดือนเท่านั้น

 

ในยุคที่เงิน 80 บาท นั้นอาจจะหมดไปกับการกินอาหารตามสั่งหนึ่งมื้อ บวกกับชานมไข่มุกตบท้ายอีกหนึ่งแก้ว

ในยุคที่เราจ่ายเงินเดือนละ 420 บาท เพื่อดูภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์

ในยุคที่เราจ่ายเงินเดือนละ 129 บาท เพื่อฟังเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่หลายคนจึงยอมจ่ายเงิน 80-300 บาทในแต่ละเดือน เพื่อใช้บริการโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์ด้วยความเต็มใจ

 

คนธรรมดาใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์ว่าดีแล้ว ผู้ประกอบการใช้ก็ยิ่งดีไปอีก…

โดยเฉพาะเหล่าผู้ประกอบการ SME ในยุคที่ใครๆ ต่างก็ใช้เทคโนโลยีและโลกออนไลน์ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ

เริ่มจากบริการ OneDrive for Business พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่สูงถึง 1 TB

เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกธุรกิจ เพราะเก็บได้ทั้งไฟล์เอกสาร ไฟล์กราฟิก วิดีโอขนาดใหญ่ และแชร์งานให้กันในกลุ่มคนทำงานได้

 

ซึ่งนั่นทำให้เกิดระบบ Co-Authoring การทำงานพร้อมกันที่ละหลายคน เพื่อช่วยในกระบวนการเร่งงาน ตรวจสอบ และแก้ไขงานได้ในทุกรูปแบบ

ทั้งบนโปรแกรม Word, Excel หรือ PowerPoint ก็ตามที

 

ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ ยังไม่ได้จำกัดเฉพาะบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น

แต่ Office 365 ยังรวมถึงการทำงานบนแท็บเลตและสมาร์ทโฟน ทั้งระบบ Windows, Android และ iOS ให้ทำได้ทุกที่ทุกเวลา

 

เมื่อครั้นถึงเวลาที่ต้องประชุม ระบบยังมาพร้อมกับ Skype for Business

เพื่อให้เหล่าคนทำงานสามารถประชุมพร้อมกัน สอนงาน แชร์หน้าจอการทำงาน ได้พร้อมกันสูงสุด 250 คนอีกด้วย

 

Office 365 เชื่อมโยงคนทำงานเข้ามาหากันผ่านโลกออนไลน์

 

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าระบบเหล่านี้สามารถย่นระยะเวลาให้กับคนทำงานได้อย่างมหาศาล

ลองจินตนาการว่า…

จากเดิม จะประชุมงานเป็นกลุ่ม ก็ต้องนัดสถานที่ และเดินทางออกไปประชุมในสถานที่นั้นๆ

จะแก้ไขงานอะไรสักชิ้นในทีม ก็ต้องขนคอมพิวเตอร์ไป เพื่อเปิดให้ดูและทำร่วมกันบนเครื่องนั้น

จะตกลงงานกับลูกค้า ก็ต้องส่งกลับไปกลับมา เพราะไม่สามารถตกลงแบบที่พอใจได้ ถ้างั้นก็ดึงลูกค้ามาอยู่ในหน้าแก้ไขงานพร้อมกันเลยดีไหม??

สิ่งเหล่านี้นับเป็น Workload ทั้งในเรื่องของงานที่มาก ทรัพยากรคน และระยะเวลาเดินทางที่เราเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

หากใช้โลกออนไลน์เข้ามาช่วยลดภาระต่างๆ เหล่านั้น ย่อมทำให้ธุรกิจคล่องตัวและเดินหน้าไปอย่างสะดวกขึ้น

 

สุดท้าย อย่าลืมติดอาวุธให้ตัวเอง!!

ในยุคนี้การทำธุรกิจก็เหมือนกับสนามรบ ที่นับวันจะมีอาวุธใหม่ๆ ประสิทธิภาพดีมาให้ใช้รบกันมากขึ้น

ธุรกิจไหนที่ยังไม่ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี เท่ากับว่าเราเดินเข้าไป “มือเปล่า” ในสนามรบที่ทุกคนติดอาวุธครบมือ

รู้จักปรับตัว รู้เท่าทันโลกดิจิตัล รู้จักติดอาวุธให้ตัวเอง ก็ย่อมนำมาสู่ความได้เปรียบ และมีโอกาสประสบความสำเร็จที่มากขึ้นนั่นเอง

ศึกษาเรื่องติดอาวุธให้ธุรกิจไทยในยุคดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่… https://aka.ms/thaibiz

หรือติดต่อ Microsoft โดยตรงที่ https://aka.ms/contactmicrosoftth

 

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...