Facebook
Twitter
LINE

ในยุคที่บางประเทศเริ่มหันมาใช้ “รถยนต์ไฟฟ้า”

แต่หลายประเทศก็ยังขับเคลื่อนด้วยรถใช้น้ำมันเป็นหลัก

มีคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นตลอดมาว่า มนุษย์เราจะจัดการกับ “แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า” ที่เสื่อมสภาพแล้วอย่างไร??

นี่คือคำถามสำคัญ ลองคิดว่าทุกคนหันมาใช้รถไฟฟ้ากันหมด แถมแบตใช้ไปนานๆ มันก็เสื่อม

จากเดิมชาร์จเต็มแล้ววิ่งได้ 600 กิโลเมตร แล้วเหลือใช้งานได้แค่ 100 กิโลเมตร ก็คงต้องถึงคราวเปลี่ยนแบตลูกใหม่

แล้วเราจะจัดการอย่างไรกับขยะอันมหาศาลเหล่านั้น??

 

 

ประเทศจีน หนึ่งในประเทศที่ขายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลก ด้วยยอดขายในปีล่าสุดมากกว่า 1,000,000 คัน

พวกเขาคาดการณ์ว่าในปี 2020 จะมีแบตเตอรี่ของรถยนต์กว่า 170,000 ตันที่เสื่อมสภาพ

แบตเตอรี่พวกนั้นใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ และกลายเป็นขยะรอการกำจัด

แต่!!

พวกมันยังไม่ไร้ค่าเสียทีเดียว…

พวกเขาระบุว่า หากทำการซ่อมแซมและปรับปรุงแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเหล่านั้น

มันจะกลายเป็นแหล่งพลังงานในลักษณะของ “พาวเวอร์แบงก์” ที่เราใช้กับโทรศัพท์มือถือ

พวกมันสามารถเก็บกักพลังงานจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นจากพลังน้ำ ลม หรือแสงอาทิตย์ได้

หากผลิตพลังงานได้เกินกว่าความต้องการ แทนที่จะปล่อยให้สูญเปล่า ก็เอามากักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เหล่านี้

และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามหาศาล ไฟฟ้าที่กักเก็บไว้ก็จะถูกดึงมาเข้าสู่ระบบ ไม่ให้ระบบหลักต้องทำงานหนักจนเกินไป

 

โรงไฟฟ้าต้นแบบแห่งแรกนี้ ถูกก่อตั้งโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าหนานจิง

รายงานข่าวระบุว่าแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพและนำมาปรับปรุง จะกักเก็บไฟฟ้าได้ 268,600 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

และบวกกับกำลังการผลิตไฟฟ้า 500,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ตัวเลขเท่านี้ จะสามารถผลิตและกักเก็บเพียงพอต่อการใช้งานของประชากรราว 200,000 คน

หากจะให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เพียงพอกับการให้ “จังหวัดนครนายก” มีไฟฟ้าใช้เพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งโรงจ่ายไฟอื่น

(และนี่คือแหล่งพลังงาน ที่เกิดจากการนำ “ขยะแบตเตอรี่” มารีไซเคิลเพื่อใช้งานอีกรอบ

ไม่ได้เป็นการตั้งโรงผลิตใหม่แบบ 100% อีกด้วย)

 

มากไปกว่านั้น นอกจากจะเป็นโรงผลิตและกักเก็บไฟฟ้าแล้ว

โรงไฟฟ้าแห่งนี้ยังเป็นตัวอย่างของโลกอนาคต ที่จะใช้งานได้มากกว่าโรงไฟฟ้าธรรมดา

ทั้งการเป็นศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่มั่นใจได้ว่าศูนย์นี้จะมีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องเซิฟเวอร์เสียเพราะไฟดับ

การเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งศึกษาดูงาน เป็นต้นแบบแรกในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน ให้ทั้งประเทศได้ศึกษา

ยังมีคอนเทนเนอร์แบตเตอรี่ หรือเราจะเรียกง่ายๆ ว่า “พาวเวอร์แบงก์เคลื่อนที่” ขนาด 15,000 กิโลวัตต์ ไว้คอยออกบริการเมื่อพื้นที่อื่นต้องการไฟฟ้าฉุกเฉินอีกด้วย

 

แม้มันจะไม่ใช่คำตอบของการกำจัด “ขยะแบตเตอรี่” แบบสมบูรณ์ 100%

แต่นี่คือสิ่งที่ “จีน” คิดและกำลังเริ่มดำเนินงาน

ในยุคที่เรียกว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” กำลังอยู่ในช่วง “ตั้งไข่”

ทุกวันนี้พวกเขาไม่ได้คิดแค่ว่า จะทำยังไงให้คนหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้ากันทั่วประเทศ

เพราะเรื่องนั้นพวกเขาคิดไปแล้ว ลงมือทำไปแล้ว และเริ่มเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

พวกเขาก็ได้แต่รอโลกหมุนไป รัฐส่งเสริมไว้ รอเอกชนมาสานต่อ และขับเคลื่อนไปสู่โลกยุคใหม่

ตอนนี้พวกเขาจึงสามารถคิดข้ามขั้น ไปถึงเรื่องการจัดการปัญหานี้ได้

มันคือเรื่องของการมองไปข้างหน้า ที่ไม่ใช่แค่ก้าวเดียว แต่คือข้างหน้าอีก “หลายช่วงตัว”

เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ ลองมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันสิครับ…

 

 

ติดตาม Billionaire Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionairethai/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/BillionaireThai

– ถ้าเล่นแต่ไลน์ ก็ส่งบทความให้คุณทุกวันที่ @BillionaireMindset

– ติดตามเพจ Billionaire Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

www.xinhuanet.com/english/2019-03/07/c_137876288.htm

www.china.org.cn/business/2019-03/08/content_74545993.htm

www.reuters.com/article/us-china-autos-batteries/china-launches-pilot-ev-battery-recycling-schemes-idUSKBN1KF375

คิดเพื่ออนาคต! จีนเตรียมสร้างโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ NEV ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว.เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (6 มี.ค.)…

โพสต์โดย China Xinhua News เมื่อ วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2019

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...