Facebook
Twitter
LINE

ล่าสุดคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลาง

หลายคนที่ได้อ่านข่าวนี้ อาจจะเกิดความสงสัยว่า สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นกันแน่!? การบินไทยล้มละลายจริงเหรอ!? แล้วหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป!?

ทีมงานขอสรุปให้อ่านเป็นการเบื้องต้นนะครับ…

 

ทางเลือกที่ยากลำบาก…

ก่อนอื่น ถ้าได้ติดตามกระแสของ “การบินไทย” ในช่วงที่ผ่านมานี้ จะพบว่ามีการเสนอทางออกของปัญหาการบินไทยอยู่ 3 แนวทางหลักๆ

[แนวทางแรก ขอกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ 50,000 ล้านบาท]

ซึ่งการบินไทย จะนำเอาเงินกู้ดังกล่าวไปช่วยเสริมสภาพคล่อง ให้บริษัทสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ พร้อมเสนอแผนให้รัฐบาลพิจารณา

ซึ่งรัฐบาลก็มองว่าแผนงานดังกล่าวยังไม่ค่อยมีความชัดเจน และอาจจะไม่สามารถทำกำไรได้จริง กลัวจะเป็นการเทน้ำลงไปในถังที่มีแต่รอยรั่ว แล้วก็จะเสียน้ำเปล่าๆ

 

[แนวทางสอง ปล่อยให้การบินไทยล้มละลายไป]

ในจุดนี้ รัฐบาลอาจมีความกังวลถึงผลเสียที่ตามมา ทั้งในเรื่องของผลกระทบต่อกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51%

ทั้งในเรื่องของส่วนแบ่งการตลาด ที่อาจจะโดนสายการบินต่างชาติเข้ามาครองตลาดเส้นทางบินทั้งในและต่างประเทศ

รวมถึงด้านภาพลักษณ์ของสายการบินแห่งชาติ หากล้มละลายไปจะส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวในอนาคตได้

 

[แนวทางสาม เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ]

หลังจากพิจารณาทั้ง 2 แนวทางที่ผ่านมาแล้ว ทางรัฐบาลเห็นว่าการให้กิจการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลาง น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

และหากมีการเพิ่มทุน ทางกระทรวงการคลังจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงให้ต่ำกว่า 50%

เพื่อให้พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ กลายเป็นเอกชนเต็มตัว และสามารถปรับโครงสร้างองค์กรได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

ฟื้นฟูกิจการ ไม่ใช่การล้มละลาย

แม้จะดำเนินการโดยศาลล้มละลายกลาง แต่ “การฟื้นฟูกิจการ” ก็จะมีความแตกต่างจาก “การล้มละลายของกิจการ” อยู่เล็กน้อย

ในส่วนของการล้มละลาย เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็จะมีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ที่ถูกแต่งตั้งมา เพื่อจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้

จากนั้นจะมุ่งเน้นไปยังการรวบรวมทรัพย์สิน จัดการแยกประเภท และขายออกมา เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้เป็นสัดส่วนลดหลั่นกันไป

แต่ในส่วนของการฟื้นฟูกิจการ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ทำแผนฟื้นฟู และเจ้าหน้าที่บริหารแผนที่ถูกแต่งตั้งมาเช่นกัน

แต่จะมุ่งเน้นไปที่การทำให้กิจการยังคงเดินหน้าต่อไปได้ มีการเจรจาพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้

รวมไปถึงการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างจริงจัง เพื่อให้ธุรกิจนั้นเปลี่ยนไป และสามารถเดินหน้าทำกำไรได้ในที่สุด

 

หลังจากนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป!?

กระบวนการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลาง หลังจากที่ศาลรับเรื่องแล้ว หนี้สินจะถูกพักชำระไปโดยทันที

ซึ่งเจ้าหนี้ จะไม่สามารถติดตามทวงหนี้ได้ทุกประเภท รวมถึงไม่สามารถยึดทรัพย์ไปขาย ไม่สามารถยึดหลักประกัน หรือยึดเอาทรัพย์สินที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เช่น เครื่องบิน ไปได้

(กระทั่งหนี้ค่าน้ำ ค่าไฟ ถ้าลูกหนี้ไม่มีจ่าย ก็ไม่สามารถตัดน้ำไฟได้ด้วย)

เท่ากับว่าตอนนี้การบินไทย จะมีเวลาให้พักหายใจมากยิ่งขึ้น

 

หลังจากนั้น ศาลจะแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟู ซึ่งเป็นคนที่ทุกฝ่ายมองว่าเหมาะสม

ผู้ทำแผนนี้ อาจจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกบริษัท มาจัดการทั้งเรื่องโครงสร้างหนี้สิน และจัดทำแผนปฏิบัติงานบริหารกิจการ

ซึ่งแผนฟื้นฟูนั้น ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบที่ตรงกันจากทั้งทางศาล เจ้าหนี้ รวมถึงลูกหนี้เอง ว่าเป็นแผนที่เหมาะสมและใช้งานได้จริง

หลังจากนั้น ก็จะถูกส่งมอบไปยังผู้บริหารแผน ซึ่งจะทำหน้าที่จัดการดูแลกิจการและทรัพย์สิน ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ

โดยมีเป้าหมายสำคัญก็คือ “การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกิจการ ให้พลิกจากขาดทุนต่อเนื่อง มาทำกำไรได้อย่างยั่งยืน”

 

ใครจะเป็นคนพลิกฟื้นการบินไทย!? คำถามที่ยังคงไม่มีคำตอบ..

 

ความเห็นจากสหภาพแรงงานการบินไทย

แม้ทางสหภาพแรงงานการบินไทย แสดงความเห็นด้วยกับการที่บริษัทได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

แต่อย่างไรก็ตาม ทางสหภาพยังยืนยันคัดค้านการลดสัดส่วนถือหุ้นของกระทรวงการคลัง ลงต่ำกว่า 50%

เพราะนั่นจะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ถูกยุบไปตามข้อกฎหมาย

 

ประกาศคัดค้าน จากสหภาพแรงงานการบินไทย

สหภาพฯ การบินไทย…

โพสต์โดย TG UNION เมื่อ วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2020

 

 

สุดท้าย.. การฟื้นฟูกิจการจะสำเร็จหรือไม่!?

เชื่อว่าเรื่องนี้คือคำถามสำคัญที่หลายๆ คนอยากจะได้คำตอบ

การฟื้นฟูกิจการของการบินไทยในครั้งนี้ ก็เป็นกรณีคล้ายกับสายการบิน Japan Airlines ในช่วงปี 2010 ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

การจะฟื้นฟูสำเร็จหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็จะมาจากการทำแผนที่ดี และจะต้องสามารถปฏิบัติตามแผนงานนั้นได้จริงๆ ด้วย

ซึ่งในจุดนี้ การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ปรับปรุงวิธีดำเนินงานธุรกิจ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อาจจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การทำกำไรอย่างยั่งยืน

แต่มันจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่!? เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบเราได้ ซึ่งต้องคอยติดตามกันต่อไปครับ…

 

ถึงเป็นสายการบินแห่งชาติ แต่ถ้าบริหารไม่ดี ก็เจ๊งได้เหมือนกัน…ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น…

โพสต์โดย Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน เมื่อ วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2020

.

ล่าสุดคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลางหลายคนที่ได้อ่านข่าวนี้…

โพสต์โดย Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน เมื่อ วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2020

 

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

www.thansettakij.com/content/money_market/433975

siamrath.co.th/n/156351

www.brandbuffet.in.th/2020/05/thai-airways-reorganization-in-bankruptcy-court

www.bbc.com/thai/thailand-52718193

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...