Facebook
Twitter
LINE

เชื่อว่าคนไทยทุกคน ต้องเคยได้ลิ้มลองสินค้าของ “ไทยเบฟ” สักครั้งในชีวิต

บริษัทแห่งนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการเป็นเจ้าของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อดัง

แต่สำหรับคนไม่ดื่มเหล้าเบียร์ ไทยเบฟก็ยังมีสินค้าที่คุ้นหูอย่าง ชาเขียวโออิชิ น้ำอัดลมเอส น้ำดื่มคริสตัล และอีกสารพัดเครื่องดื่ม

ถึงแม้จะเป็นบริษัทไทย มีขายสินค้าอยู่ทั่วประเทศ และมีมูลค่ากิจการถึง 400,000 ล้านบาท

แต่ไทยเบฟ กลับไม่ได้ลงทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยซะอย่างนั้น

แล้วถ้าคุณอยากจะลงทุนกับบริษัทนี้ ก็ต้องไปซื้อหุ้นถึงตลาดสิงคโปร์อีกด้วย..

สงสัยกันไหมว่า มันเกิดอะไรขึ้น!?

 

ความพยายามที่ล้มเหลว…

ในปี 2546 กลุ่มคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจรวบบริษัทผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 58 บริษัทในไทยเข้าด้วยกัน

แล้วจดทะเบียนเป็น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อไทยเบฟ

หลังจากนั้นบริษัทที่ใหญ่ขึ้น ก็ได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายเบียร์ในประเทศไทย

แผนขั้นต่อไปก็คือ.. ผลักดันบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นไทย

ในด้านธุรกิจและการเงิน บริษัทสามารถเข้าซื้อขายได้อย่างไม่มีปัญหา

แต่ในด้านสังคม กลับเกิดปัญหาต่อต้านขึ้นมาเสียอย่างนั้น!!

 

ปี 2548 ม็อบต่อต้านที่นำโดยนายจำลอง ศรีเมือง รวมตัวมาต่อต้านการจดทะเบียนเข้าซื้อขายหุ้นไทยเบฟ ในตลาดหุ้นไทย

ในสมัยนั้นมีการรวบรวมรายชื่อกว่า 60,000 ชื่อ และม็อบกว่า 3,000 คน ชุมนุมทั้งที่ตลาดหลักทรัพย์ และรัฐสภา

เหตุผลหลักที่ต่อต้านก็คือ ไทยเบฟเป็นบริษัทขายของมึนเมา จะขัดต่อศีลธรรม และส่งเสริมให้คนดื่มเหล้าเบียร์มากยิ่งขึ้น

 

ดังนั้น เพื่อยุติความขัดแย้ง ในปี 2549 ไทยเบฟจึงตัดสินใจเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน

และรู้หรือไม่ว่า..

ต่อมาในปี 2551 ไทยเบฟก็จะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง โดยคราวนี้พวกเขาได้รับคำเชิญจากตลาดหลักทรัพย์โดยตรง

แต่สุดท้าย บริษัทก็ไม่ได้เข้าซื้อขายอยู่ดี จากกระแสม็อบต่อต้านที่ผุดขึ้นมาอีกครั้ง

 

หลังจากเข้าตลาดหุ้นได้สำเร็จ

หลังจากเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟก็นำเงินลงทุนไปขยายกิจการต่อ

ปี 2549 ไทยเบฟได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เข้าซื้อกิจการโรงกลั่นจากอังกฤษ สกอตแลนด์ และฮ่องกง

ปี 2551 เข้าซื้อกิจการของโออิชิกรุ๊ป

ปี 2554 พวกเขากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเสริมสุข ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจร

ปี 2560 กลุ่มไทยเบฟ ประกาศซื้อแฟรนไชส์ KFC ในประเทศไทยต่อจาก Yum Restaurants

และล่าสุดในช่วงปี 2562 พวกเขาก็เข้าซื้อธุรกิจ Starbucks ทั้งหมดในประเทศไทย

 

ไทยเบฟเวอเรจจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน หากได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทย!?

บริษัทไทยเบฟ มีธุรกิจในเครือรวมกันกว่า 138 บริษัท และมีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้

ปี 2560 มีรายได้ประมาณ 189,000 ล้านบาท กำไร 34,500 ล้านบาท

ปี 2561 มีรายได้ประมาณ 229,000 ล้านบาท กำไร 18,500 ล้านบาท

ปี 2562 มีรายได้ประมาณ 267,000 ล้านบาท กําไร 23,200 ล้านบาท

หุ้นไทยเบฟซื้อขายกันที่ P/E ประมาณ 17 เท่า และมีมูลค่ากิจการ 409,000 ล้านบาท

 

และหากบริษัทนี้มีโอกาสได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย พวกเขาก็อาจจะมีมูลค่ามากเป็นอันดับที่ 7 ในตลาด เป็นรองเพียงแค่

1. PTT หรือ ปตท. ที่มีมูลค่ากิจการ 1.12 ล้านล้านบาท

2. AOT หรือ ท่าอากาศยานไทย มูลค่ากิจการ 860,000 ล้านบาท

3. CPALL หรือซีพี ออลล์ มูลค่ากิจการ 600,000 ล้านบาท

4. ADVANC บริษัท AIS ที่มีมูลค่าในปีเดียวกันอยู่ที่ 560,000 ล้านบาท

5. SCC หรือ ปูนซิเมนต์ไทย มูลค่ากิจการ 470,000 ล้านบาท

6. GULF หรือ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี มูลค่ากิจการ 410,000

 

และหากว่าในสักวันหนึ่ง “ไทยเบฟ” มีโอกาสได้เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทย ก็จะเป็นหนึ่งในผู้นำและช่วยขับเคลื่อนตลาดการเงินไทยได้มากทีเดียว

แต่บริษัทเครื่องดื่มรายนี้ มีโอกาสเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทยได้หรือไม่

หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวไปถึง 2 ครั้ง

และทั้ง 2 ครั้ง ก็อยู่ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน.. แต่ปัจจุบันนี้ มันทิ้งช่วงห่างกันมานับ 10 ปีแล้ว

คุณคิดว่าอย่างไรกันบ้างครับ..!?

 

เชื่อว่าคนไทยทุกคน ต้องเคยได้ลิ้มลองสินค้าของ "ไทยเบฟ"…

โพสต์โดย Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน เมื่อ วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2020

 

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา

www.thaibev.com/th08/aboutus.aspx?sublv1gID=132

https://mgronline.com/daily/detail/9480000113566

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9480000096855

sg.finance.yahoo.com/quote/Y92.SI

https://www.marketscreener.com/THAI-BEVERAGE-6498120/company/

thestandard.co/thaibev-takeover-kfc/

https://th.investing.com/equities/thai-beverage-pcl

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...