Facebook
Twitter
LINE

“โตเกียว” เมืองหลวงติดทะเลที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง

เช่นเดียวกับหลายเมือง โตเกียวเจริญเติบโตอย่างมากในช่วงยุค 1950 กลายเป็นเมืองที่ประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก

พื้นที่ราบ ถูกแทนที่ด้วยพื้นคอนกรีต ท้องนาก็ถูกแทนที่ด้วยตึกและบ้านเรือน

นั่นทำให้เมืองหลวงแห่งญี่ปุ่นนี้ ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังและระบายไม่ทันมาโดยตลอด

 

โดยเฉพาะในปี 1947 ไต้ฝุ่นแคทลีนเข้าจู่โจมโตเกียว กระแสลมทำลายสิ่งก่อสร้าง ฝนตกหนักจนระบายไม่ทัน ทำให้แม่น้ำเอโดะเอ่อเข้าซัดเมือง

บ้าน 31,000 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย

ประชากร 1,000 คนเสียชีวิต และอีกราว 800 คนสูญหาย ต้องพลัดพรากจากพี่น้อง

และนั่นเป็นภัยพิบัติที่ฝังอยู่ในใจคนญี่ปุ่นอีกครั้ง นอกจากเรื่องของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ

 

ไต้ฝุ่นแคทลีน ปี 1947 มีเส้นทางคล้ายกับไต้ฝุ่นฮากีบิสมาก

 

จนกระทั่ง.. ในปี 1990

รัฐบาลญี่ปุ่นมีความเห็นว่าจะต้องทำโครงข่ายการระบายน้ำอย่างจริงจังให้แก่เมืองโตเกียว

และเนื่องจากตอนนั้นประชากรก็หนาแน่นมาก ไม่สามารถสร้างทางน้ำขึ้นบนผิวดินได้ คำตอบก็เลยกลายเป็น “อุโมงค์ยักษ์ใต้ดิน”

แม้จะเป็นโครงการที่มีมูลค่ามหาศาล ต้องทุ่มงบประมาณตอนนั้นกว่า 70,000 ล้านบาท

แต่ด้วยความจำเป็นที่ “ต้องทำ” เพราะถ้ายิ่งไม่ทำ ในอนาคตเมื่อเมืองแออัดขึ้น เจอกับภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น ก็จะยิ่งกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขยากขึ้นไปอีก

หลังจากเขียนแผนงานเสร็จ ในที่สุดอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ ก็ได้ฤกษ์ก่อสร้างขึ้นในปี 1993

 

ระบบระบายน้ำในโตเกียวทำงานอย่างไร!?

ระบบอุโมงค์ยักษ์ที่มีความยาวประมาณ 6.3 กิโลเมตร หรือพอๆ กับการขับรถจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจนถึงห้าแยกลาดพร้าว

ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยแทงค์น้ำทั้งหมด 5 แทงค์ มีความสูงของแต่ละแทงค์กว่า 70 เมตร

เชื่อมต่อกันด้วยระบบอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังแม่น้ำเอโดะอีกทีหนึ่ง

พูดง่ายๆ ก็คือระบบดังกล่าว จะทำงานโดยการพาน้ำที่อยู่ตามถนนหนทาง และแม่น้ำสายเล็กๆ ในเมือง มารวมกันที่เดียวเพื่อออกสู่แม่น้ำสายใหญ่

หากมีฝนตกชุกภายในเมือง น้ำตามถนนหนทาง และแม่น้ำสายย่อย จะถูกระบายลงอุโมงค์ผ่านทางแทงค์น้ำขนาดใหญ่

จากนั้นน้ำจะไหลไปตามทาง โดยมีจุดหมายคือแทงค์น้ำสุดท้าย “แทงค์หมายเลข 1”

ที่นั่นจะมีเครื่องสูบน้ำกำลัง 13,000 แรงม้า ซึ่งตามข้อมูลระบุว่าสูบน้ำได้ 200 ตันต่อวินาที

เท่ากับนาทีละ 12,000 ตัน หรือชั่วโมงละ 360,000 ตันเลยทีเดียว

น้ำทั้งหมดจะถูกสูบออกไปยังแม่น้ำเอโดะ เพื่อระบายออกไปยังทะเลต่อไป (จะเห็นว่าระบบที่ดีเยี่ยมนี้ ก็ต้องการกระแสน้ำเป็นตัวช่วยระบายสู่ทะเลด้วยเช่นกัน)

 

ระบบอุโมงค์ 6.3 กิโลเมตรและแทงค์น้ำ 5 แทงค์

 

แม้นับจากวันก่อสร้างครั้งแรกถือเป็นเวลาถึง 13 ปี กว่าที่ระบบระบายน้ำจะได้เปิดใช้

หากย้อนไปตั้งแต่มีแผนงาน ก็นับเป็นเวลา 16-17 ปี ซึ่งยิ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก

แต่อุโมงค์ระบายน้ำแห่งโตเกียว ก็ได้พิสูจน์ตัวเองหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่เปิดใช้เมื่อปี 2006 เป็นต้นมา

และในสถานการณ์ปัจจุบัน ไต้ฝุ่นฮากีบิส ที่กำลังเป็นกระแสดัง และจะเข้าโตเกียวเต็มๆ ในช่วงเย็นของวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2019 นี้

เชื่อว่าเจ้าระบบระบายน้ำยักษ์ ก็จะได้พิสูจน์ตัวเองอีกครั้ง ว่ามันจะสามารถรับมือไหว และคุ้มค่ากับเม็ดเงินและระยะเวลาสร้างนับสิบปีได้!!

 

ภาพายในอุโมงค์ระบายน้ำ cr.BBC

 

จากโตเกียว ย้อนมากรุงเทพมหานคร

หากนับกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเมืองที่มีพื้นที่มากกว่า กรุงเทพฯ ประมาณ 2.5 เท่า และมีประชากรมากกว่าราว 4 เท่า

กรุงเทพเราก็น่าจะแออัดน้อยกว่า ในแง่ของประชากรต่อพื้นที่ (ไม่นับเรื่องผังเมืองหรือระบบการคมนาคม)

เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะมีระบบบริหารจัดการน้ำ ที่สามารถจัดการน้ำฝน ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพจนไม่เกิดปัญหาท่วมขังบ่อยครั้ง

แล้วเราจะใช้ระบบไหน? ทำได้อย่างไร? ลองมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ…

 

ภาพเพิ่มเติมของอุโมงค์จากสื่อต่างๆ

.

 

แทงค์น้ำขนาดยักษ์

 

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

www.bbc.com/future/article/20181129-the-underground-cathedral-protecting-tokyo-from-floods

Japanese Govt Took 17 Years To Make These Tunnels Deep Beneath Tokyo. Here Is Why They Made Them

อุโมงค์ระบายน้ำยักษ์ในโตเกียว 70,000 ล้าน ก่อสร้าง 17 ปี เพื่อแก้น้ำท่วมอย่างยั่งยืน!!

 

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...