Facebook
Twitter
LINE

 

ธุรกิจ “ร้านขายยา” ในประเทศไทยใหญ่แค่ไหน!?

เพจแนวคิดพันล้านเองก็สงสัยเช่นกัน..

และหลังจากได้ทราบข้อมูลจากทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็พบว่าตลาดร้านขายยานั้นมีมูลค่าไม่ใช่น้อย

 

ปี 2558 ธุรกิจร้านขายยามีมูลค่าประมาณ 34,000 ล้านบาท

ปี 2559 มีมูลค่าประมาณ 37,000 ล้านบาท

และข้อมูลระบุว่าปี 2560 ธุรกิจร้านขายยามีมูลค่า 40,000 ล้านบาท

ตลาดเติบโตขึ้น 8-10% ในทุกปี

 

ซึ่งถ้ายังเติบโตได้ขนาดนี้ ในอนาคตปี 2570 ธุรกิจร้านขายยาในไทยอาจมีมูลค่าสูงถึง 90,000 ล้านบาท!!

นับว่าเป็นโอกาสอันหอมหวานของธุรกิจที่จะเข้ามาเล่นในตลาดนี้เช่นกัน

 

ภาพ: คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง

 

ร้ายขายยาในไทยมีมากแค่ไหน!?

จากการประเมินพบว่าในปีล่าสุด ประเทศไทยมีร้านขายยาประมาณ 16,000 แห่ง

แบ่งออกเป็น…

ร้านขายยาของธุรกิจสาขา 1,400 แห่ง คิดเป็น 9%

และอีก 14,600 แห่งเป็นร้านขายยาเดี่ยวของผู้ประกอบการรายย่อย คิดเป็นสัดส่วน 91%

 

(ตัวอย่างร้านขายยาในไทยที่มีสาขาอยู่มากและเป็นที่รู้จักก็ได้แค่ Watsons ซึ่งมี 469 สาขา หรือร้าน Boots ซึ่งมี 270 สาขา)

 

ทำไมร้านขายยา จึงเป็นธุรกิจอันหอมหวาน!?

เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยจะไม่ไปโรงพยาบาล แต่ตัวเลือกแรกของพวกเขาคือร้านขายยา

จากผลวิจัยพบว่าทางเลือกแรกของคนเจ็บป่วยไม่รุนแรง คือร้านขายยาถึง 32%

ขณะที่คนจะเลือกไปโรงพยาบาลเอกชน 25%

และเลือกไปโรงพยาบาลรัฐเป็นตัวเลือกแรกเพียง 16% เท่านั้น

 

คนไทยเสียค่ายาในร้านขายยา เฉลี่ยแล้วครั้งละ 150-200 บาท

และตัวเลขค่าใช้จ่ายตรงนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี มันสะท้อนอะไร!?

มันสะท้อนว่าคนยุคใหม่ เลือกเดินเข้าร้านขายยา ไปซื้อยาทานเองมากขึ้น แทนการไปพบแพทย์ในโรงยาบาล

พวกเขาให้เหตุผลว่า มันคุ้มค่า สะดวก ไม่เสียเวลาเท่ากับการไปรอคิว หรือต้องเสียเวลาเดินทางนานๆ

 

เทรนด์การซื้อยาเองที่มากขึ้นนี้ ย่อมตามมาด้วยการเติบโตของมูลค่าตลาด “ร้านขายปลีกยา” ที่จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากในอนาคต

 

เพราะฉะนั้น การซื้อยาทานเองของคนไทยที่มองว่าสะดวกกว่านั้น ก็ควรได้รับการดูแลอย่างเข้มงวดด้วยเช่นกัน

ร้านขายยาควรมีบุคลากรที่มีมาตรฐาน เพื่อจะให้ข้อมูลแนะนำการใช้ยาและรักษาอย่างถูกต้อง

รวมถึงเพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยาเกินขนาด การใช้ยาผิดประเภท หรือการดื้อยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

ขณะเดียวกัน “ระบบรักษาพยาบาล” และ  “ร้านขายปลีกยา” ก็ควรทำงานประสานกัน เพื่อเข้มงวดในการจ่ายยาที่มากขึ้น

ทั้งการสร้างระบบประสานงานระหว่างใบสั่งแพทย์ กับการจ่ายยาบางประเภทจากร้านขายยา ที่ต้องมีใบสั่งเฉพาะ

ยกตัวอย่างเช่นในประเทศพัฒนาบางแห่ง ที่แม้แต่การซื้อคอนแทคเลนส์ ยังต้องมีใบสั่งจากแพทย์โดยเฉพาะ

 

ธุรกิจยาคือตลาดที่มีโอกาสเติบโต และมีส่วนช่วยในการพัฒนารายได้ของประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้มีรูปแบบเฉพาะตัว และ “ยา” เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและชีวิตของประชากรในประเทศ

 

เพราะฉะนั้นการเติบโตของธุรกิจ ในตลาดที่อาจจะโตไปถึง 90,000-100,000 ล้านในอีก 10 ปีข้างหน้า

จึงต้องตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคไปพร้อมๆ กันด้วยเช่นกัน

 

คุณผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรในประเด็นนี้ สามารถคอมเม้นต์มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ…

 

 

ที่มา:

https://www.hfocus.org/content/2017/03/13642

https://thaipublica.org/

https://www.watsons.co.th/companyInformation

http://www.soccersuck.com/boards/topic/1677918/

ภาพ: http://www2.pharm.chula.ac.th/

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...