Facebook
Twitter
LINE

ผลการสอบ PISA ในปี 2015 ซึ่งเป็นการวัดความรู้ 3 ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

ประเทศไทยเราได้อันดับ 54 จากทั้งหมด 70 ประเทศ

ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้อันดับ 25

Bill Gates เองก็มองว่าจุดนี้เป็นปัญหา ซึ่งไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่ปัญหานี้หมักหมมมาเนิ่นนาน

 

 

ย้อนกลับไปราว 50 ปีก่อน สหรัฐอเมริกาคือผู้นำด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

พวกเขาเป็นประเทศแรกของโลกที่ประชาชนเข้าถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอย่างแพร่หลาย

ส่งผลให้เป็นผู้นำทั้งด้านอุตสาหกรรม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

 

แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไป ทั้งการพัฒนาการของประเทศแถบเอเชีย แถบยุโรป รวมถึงการถดถอยของการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเอง

รัฐบาลจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษากว่า 2.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6% ของงบประมาณทั้งหมด

1. เงินเกือบ 70% ของงบนั้นคือค่าใช้จ่าย “เงินเดือนครู” ซึ่งได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนตามอายุงาน

ยิ่งอาวุโส ก็ยิ่งเงินเดือนดี

 

2. นอกจากนี้ สำหรับครูที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ก็จะมีเงินโบนัสพิเศษให้อีก

ในแต่ละปีรัฐบาลต้องแบ่งค่าใช้จ่ายประมาณ 480,000 ล้านบาทเป็นโบนัสส่วนนี้

 

ซึ่งทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว Bill Gates มองว่าเป็นแนวคิดที่ผิด!!

เขามองว่า “ความอาวุโสของผู้สอน ไม่เกี่ยวข้องกับผลความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียน”

และ “การให้โบนัสกับครูที่จบปริญญาโทได้ ก็ไม่มีผลด้วยเช่นกัน”

 

แล้วสิ่งที่ควรจะทำคืออะไร??

การแก้ปัญหาด้านโครงสร้าง เช่น ยกระดับความสามารถครูทั้งประเทศ หรือปรับปรุงเรื่องเงินเดือนเพื่อดึงดูดคนเก่งเข้ามา เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง

ครูผ่านการศึกษาในรูปแบบเดียวกัน สอนมาในรูปแบบเดิมๆ บางคนทำแบบนี้มา 20-30 ปี

การจะเข้าไปเปลี่ยนเลย นอกจากจะได้รับการต่อต้านแล้ว ยังเป็นเรื่องยากถึงขั้น “เป็นไปไม่ได้!!”

 

เขาเสนอว่าสิ่งที่ทำได้อย่างทันทีก็คือ “ควรลดขนาดห้องเรียนลง”

เมื่อคลาสเรียนเล็กลง ครู 1 คนจะมีภาระที่น้อยลง และดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงขึ้น

ห้องเรียนที่มีนักเรียน 15 คน ย่อมเป็นผลดีต่อผู้เรียน มากกว่าห้องที่มี 30 คน

แต่นั่นจะเกิดปัญหาตามมาว่า… แล้วนักเรียนที่เหลือจะทำอย่างไร??

แบบนั้นเราต้องจ้างครูมาเพิ่มหรือ?? จะเอาเงินที่ไหนมาจ้าง??

 

Bill มองว่าการให้โบนัสและขึ้นเงินเดือนครูนั้น ควรให้ตามความสามารถของครู

ยิ่งครูคนไหนเก่ง สอนเด็กได้มีประสิทธิภาพสูง นั่นหมายถึงเขาควรได้ขึ้นเงินเดือนและโบนัส

และครูที่เก่ง ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระของครูที่อ่อนกว่า รับเด็กนักเรียนส่วนที่เกินมาจากห้องครูคนอื่นได้

 

รูปแบบการเรียนในความคิดเขาก็จะเป็น…

1. ครูที่อ่อนกว่า ดูแลนักเรียนจำนวนน้อย

ครูจะได้ไม่รับภาระหนักไป มีโอกาสฝึกฝนพัฒนาการสอนจากนักเรียนกลุ่มเล็กๆ

ฝ่ายนักเรียนก็จะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ แถมถ้าทำผลงานการศึกษาดี โบนัสก็จะตกไปที่ครูอีกทาง

 

2. ครูที่เก่งกว่า รับภาระนักเรียนมากขึ้น

นี่คือการรับภาระสอนนักเรียนที่เกินมา แต่ถ้าพวกเขาเก่ง ก็จะรับภาระตรงนี้และยังมีคุณภาพการสอนที่ดีได้

นอกจากนี้ การให้เงินเดือนที่ดีกว่า ย่อมทำให้พวกเขาไม่รู้สึกว่าแบกรับภาระโดยไม่สมัครใจแต่าอย่างใด

 

 

จากมุมมองของ Bill Gates ย้อนมาดูการศึกษาไทย

งบประมาณปี 2562 ประมาณ 3 ล้านล้านบาทนั้น

ถูกจัดสรรมาด้านการศึกษาประมาณ 490,000 ล้านบาท คิดเป็น 16%

กระทรวงศึกษาธิการ ก็เป็นหน่วยงานซึ่งได้รับงบประมาณมากที่สุด

แต่ผลลัพธ์ในด้านการศึกษาที่ออกมา… ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ด้านการศึกษาของประเทศไทย” ยังมีปัญหา

 

แนวคิดเรื่องคลาสเรียนที่ใหญ่เกินไปของ Bill Gates นั้น

มาตรงกับเสียงสะท้อนของคุณครูซึ่งตรวจการบ้าน “โจ้-จอย” ที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์

คุณครูบอกว่าเธอเร่งตรวจการบ้านนักเรียน 30 คน ให้เสร็จทันเวลา

สำหรับบางคน การตรวจการบ้าน 30 เล่มนั้นเป็นเรื่องง่าย

แต่บางคนอาจจะเป็นเรื่องที่เหนื่อย จนทำให้เกิดความผิดพลาด

 

การจะรื้อระบบการศึกษาทั้งหมด ยิ่งกับการศึกษาไทย มันแทบเป็นเรื่อง “เป็นไปไม่ได้เลย” อย่างที่ Bill Gates บอก

แต่การปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น การวางแผนใช้งานครูให้ถูกต้อง จัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสม

รวมถึงปรับเอาแนวคิดจากประเทศซึ่งผลงานด้านการศึกษาที่ดีกว่ามาใช้ (ตามที่ท่านไปศึกษาดูงานกันมา)

 

แนวคิดเหล่านี้อาจไม่ทำให้ประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในเร็ววัน

แต่ก็มีโอกาสถีบตัวเองจากอันดับ 50 ขึ้นมายัง 40 หรือ 30 ได้ในอนาคตอันใกล้

ซึ่งดีกว่าการย่ำอยู่กับที่แล้วปลอบใจตัวเองว่า “เราคงมาได้เพียงเท่านี้…” อย่างแน่นอน

 

 

ที่มา:

https://abcnews.go.com/US/bill-gates-education-microsoft-founder-schools-teaching-teachers/story?id=13051251

www.nytimes.com/2010/11/19/us/19gates.html?_r=2&ref=education

https://asiasociety.org/blog/asia/bill-gates-whos-beating-us-education-and-what-we-do-about-it

www.oecd.org/pisa/pisa-2015-results-in-focus.pdf

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...