Facebook
Twitter
LINE

ถ้าหุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ 

แล้วคนจะไม่ตกงานกันหมดเหรอ??

 

คำถามนี้เกิดขึ้นกับบริษัทขายของออนไลน์ยักษ์ใหญ่ Amazon

ซึ่งเริ่มนำ “หุ่นยนต์” มาใช้ภายในโกดังสินค้าตั้งแต่ปี 2014

นั่นส่งผลให้การจ้างงานในส่วน “คลังสินค้า” ลดลง

แต่พวกเขากลับบอกว่าไม่จำเป็นต้องปลดคนงานเหล่านั้น

แถมในปีนี้ยังพร้อมจ้างคนงานกว่า 50,000 ตำแหน่งทั่วประเทศซะอีก

ทำไมกันล่ะ?? แล้วเอาคนงานไปทำอะไร?? ลองติดตามผ่านบทความนี้ครับ…

 

ย้อนกลับไปในปี 2012

Amazon ลงทุนกว่า 24,000 ล้านบาท เพื่อติดตั้งระบบหุ่นยนต์ในคลังสินค้า

ภายใต้ชื่อที่เรียกเก๋ๆ ว่า Amazon Robotic

จุดเด่นคือแขนกลสีเหลืองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพระเอกหลักของระบบอัตโนมัติทั้งหมด

หน้าที่ของมันก็คือ “จัดการเรียงกล่องใส่ของ แล้วนำกล่องเหล่านั้นไปยังที่ที่พวกมันควรอยู่”

ฟังดูเป็นงานที่ง่ายรึเปล่าครับ??

 

หุ่นยนต์ล้อเลื่อนอัตโนมัติ

.

แขนกลอัจฉริยะในการจัดเรียงสินค้า

 

แต่ลองคิดภาพว่า คนงานในโกดัง ต้องรับของเข้ามายังโกดังในทุกๆ วัน

จากนั้นคัดแยกประเภท นำสินค้าใส่กล่องพลาสติก แบ่งหมวดหมู่พวกมัน

เดินจากฝั่งหนึ่งของโกดังไปยังอีกฝั่ง เพื่อนำสินค้าไปจัดเก็บ

สินค้าน้ำหนักเบาก็ต้องแบกกล่องไปๆ มาๆ ส่วนสินค้าหนักมากก็ใส่รถเข็น หรือขึ้นรถขนย้ายไป

พอมีคำสั่งซื้อเข้ามา ต้องเอาของเหล่านั้นมาจัดใส่กล่องเพื่อส่งออกไป

ก็ทำคล้ายในลัษณะคล้ายกัน แต่เปลี่ยนไปเป็นการสินค้าเอาออกมาแทนนั่นเอง

 

แต่เมื่อระบบ Amazon Robotics เข้ามา

มีทั้งระบบสายพาน และแขนกลซึ่งประจำอยู่ตามจุดต่างๆ ในโกดัง

พนักงานที่เคยต้องทำงานเคลื่อนย้ายของเข้ามาเก็บ และนำของออกจากชั้นวาง ก็จะไม่ต้องทำงานส่วนนี้แล้ว

วิธีที่จะทำให้พวกเขามีงานทำ ก็แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

คนงานส่วนแรกที่มีความสามารถในการอ่านเขียนระดับดีนั้น

ถูกส่งไปอบรมคอร์สควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งจัดโดยบริษัทเอง

หลังจากอบรมเสร็จสิ้น ก็จะกลับมาทำหน้าที่ควบคุมหุ่นยนต์ภายในโกดังสินค้า ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

และคอยแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของหุ่นยนต์เหล่านั้น

 

ส่วนที่สอง พนักงานส่วนนี้ถูกโยกย้ายไปทำหน้าที่ในสถานีรับสินค้า

เพราะเมื่อหุ่นยนต์สามารถจัดเก็บสินค้าได้ในเวลารวดเร็วขึ้น

แสดงว่าใน 1 วัน แทนที่จะรับสินค้าได้เท่าเดิม ตอนนี้โกดังก็รับได้มากกว่าเดิมแล้ว

คนงานคัดแยกสินค้าจึงมีความต้องการมากขึ้น

คนงานเหล่านี้จะทำหน้าที่จัดการแยกสินค้าใส่เอาไว้ในกล่องขนาดต่างๆ ก่อนที่จะถูกส่งไปยังระบบสายพานให้หุ่นยนต์คอยจัดเก็บต่อไป

 

ระบบสายพานส่งสินค้าไปทั่วโกดัง

ภาพ: nytimes

 

ข้อถกเถียงเรื่องการถูกแย่งงานจากหุ่นยนต์??

ซึ่งจากข้อมูลนั้นพบว่า ตั้งแต่ที่มีการติดตั้ง Amazon Robotic ในสหรัฐอเมริกา

บริษัทจ้างคนงานในการจัดการสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 80,000 ตำแหน่ง

 

แม้จะมีเสียงวิจารณ์จากบางส่วนว่า ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงภัยของการถูกแย่งงานจากหุ่นยนต์

เพราะเมื่อบริษัทมีการเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในสหรัฐเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ก็ย่อมส่งผลให้บริษัทต้องจ้างคนมากขึ้นเป็นธรรมดา

 

ขณะที่ทางฝั่งของ Amazon ก็ออกมาพูดถึงประเด็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน

พวกเขาบอกว่าไม่มีหลักฐานชี้ชัด ในเรื่องของหุ่นยนต์ที่เข้ามาแย่งงานมนุษย์

พร้อมยกตัวอย่างการเข้ามาของระบบเครื่องจักรอัตโนมัติในอดีต

ซึ่งนั่นส่งผลให้คนงานไร้ฝีมือต้องปรับตัว เรียนรู้เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักร

ขณะที่แรงงานบางส่วนก็ต้องอัพเกรดตัวเองไปเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ฉลาดและมีคุณภาพสูงขึ้น

แทนการเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเดียว

 

นั่นทำให้พวกเขามองว่า การเข้ามาของระบบหุ่นยนต์ในยุคอนาคตอันใกล้นี้

ก็จะยิ่งทำให้มนุษย์สะดวกสบาย การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ส่วนด้านการทำงาน แรงงานมนุษย์ก็จะปรับตัว พัฒนาตนเองจากแรงงานรูปแบบหนึ่ง ไปสู่รูปแบบหนึ่ง

สุดท้ายพวกเขาจะเรียนรู้การทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์ได้ในที่สุด

 

ยังคงเป็นคำถามว่า “หุ่นยนต์” ทำให้การจ้างงานทั้งระบบ ลดลงหรือเพิ่มขึ้นกันแน่??

 

การพัฒนา การแข่งขัน และความต้องการของลูกค้า…

Amazon เปิดเผยว่า ระบบขนส่งที่รวดเร็วของพวกเขาอย่างเช่น การการันตีได้รับสินค้าภายใน 2 วัน หรือระบบส่งภายในวัน สั่งเช้าได้เย็น

จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงาน

ประการแรกคือความรวดเร็วของระบบ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น และยังสามารถตรวจสอบสต็อคสินค้าได้ตลอดเวลา

ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสินค้าหมด จนต้องรอสินค้าจากแหล่งอื่นหลังจากลูกค้าสั่งไปแล้ว

ประการถัดมาคือเรื่องของต้นทุน การลดต้นทุนของการจ่ายค่าแรงพนักงาน ทำให้บริษัทสามารถแบกภาระค่าจัดส่งแทนได้

นั่นทำให้ลูกค้าพอใจที่ได้รับบริการขนส่งอย่างรวดเร็วตามคำโฆษณา

เกิดเป็นสถานการณ์ Win-Win ทั้งทางฝั่งเจ้าของกิจการ และฝั่งลูกค้าเองด้วย

(เสริม: จริงๆ ต้นทุนที่ลด ก็ไม่ได้เกิดจากปลดหรือลดเงินเดือนคนงานนะ แต่หมายถึงการใช้คนเท่าเดิม ทำงานได้มากกว่าเดิม

เท่ากับว่ารายจ่ายยังคงเท่าเดิม แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น พอเฉลี่ยออกมาแล้วต้นทุนก็เลยน้อยลงนั่นเอง)

 

ความได้เปรียบของบริษัทใหญ่ ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนบริษัทเล็กนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยซึ่งทำให้ยังคงตำแหน่งเบอร์ 1 มาได้โดยตลอด

Amazon ยังครองส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซอเมริกัน 49%

ซึ่งอันดับสองนั้นเป็นของ eBay อยู่ที่ประมาณ 6.6% นับเป็นตัวเลขที่ต่างกันมากเหลือเกิน

 

ตัวเลขผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซในสหรัฐ วัดจากยอดขาย

 

อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นเพียงการนำ “หุ่นยนต์” มาใช้งานในขั้นแรกเท่านั้น…

แต่หากในอนาคตมีการพัฒนาและทดลองใช้ AI ขั้นสูง ซึ่งสามารถทำอะไรได้มากกว่าเพียงรับคำสั่ง

หาก AI เหล่านั้นสามารถเรียนรู้ คิดว่าควรทำอะไรได้เอง โดยไม่ต้องใช้คนคอยควบคุม

รวมถึงถูกพัฒนาให้มีรูปร่าง แขนขา เคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับมนุษย์

ถึงตอนนั้นคงเป็นการ “ปฏิวัติ” ระบบอุตสาหกรรมไปอีกขั้นหนึ่ง

ซึ่งก็ต้องคอยดูว่าถ้าเวลานั้นมาถึงจริงๆ คำกล่าวที่ว่า “มนุษย์จะปรับตัวได้” และ “หุ่นยนต์ไม่แย่งงานคน” จะยังคงใช้ได้อยู่อีกหรือไม่…

คุณคิดว่าอย่างไรครับ??

 

 

ติดตาม Billionaire Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionairethai/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/BillionaireThai

– ถ้าเล่นแต่ไลน์ ก็ส่งบทความให้คุณทุกวันที่ @BillionaireMindset

– ติดตามเพจ Billionaire Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

www.nytimes.com/2017/09/10/technology/amazon-robots-workers.html

https://www.amazonrobotics.com/

https://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_Robotics

www.roboticsbusinessreview.com/listing/amazon-robotics/

spectrum.ieee.org/automaton/robotics/industrial-robots/interview-brad-porter-vp-of-robotics-at-amazon

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...