Facebook
Twitter
LINE

ขอสรุปเรื่องราวของ #เราไม่ทิ้งกัน ในหลายประเด็น มาเป็นบทความ 6 ข้อให้คุณอ่านเข้าใจง่ายๆ นะครับ…

 

ขอสรุปเรื่องราวของ #เราไม่ทิ้งกัน ในหลายๆ ประเด็น มาเป็นบทความ 6 ข้อให้คุณอ่านเข้าใจง่ายๆ นะครับ… 1. ได้สิทธิ์แค่ 3…

โพสต์โดย Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2020

 

ได้สิทธิ์แค่ 3 ล้านคนจริงเหรอ!?

สิ่งที่ควรรู้ข้อแรกก็คือ “ไม่จริง” เพราะตอนนี้ยังเปิดให้ลงทะเบียนไปเรื่อยๆ และยังไม่มีกำหนดปิดรับลงทะเบียน

เรื่องนี้อาจจะสร้างความสับสนให้หลายคน จากตอนแรกมีข่าวว่าให้เพียง 3 ล้านคนเท่านั้น (ทำให้หลายคนแย่งกันเข้าไปจนเว็บไซต์ล่มนั่นเอง)

อันที่จริงก็คือ ตัวเลข 3 ล้านคนนั้นคือตัวเลขที่ภาครัฐประเมินไว้คร่าวๆ ว่าจะมีคนลงทะเบียนและผ่านเกณฑ์ประมาณนี้

แต่ดูจากยอดการลงทะเบียนล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 14 ล้านคน เชื่อว่ายอดคนผ่านเกณฑ์คงจะสูงมากกว่านี้พอสมควร

สำหรับคนที่ยังไม่ลงทะเบียน ถ้าตอนนี้คุณยังไม่ว่างจริงๆ หรือเว็บไซต์ยังคงเข้าไม่ได้ ก็ทำใจเย็นๆ และค่อยลงทะเบียนใน 3-4 วันนี้ก็ยังไม่สายไปนะครับ

ข้อดีของการลงทะเบียนเร็วกว่าก็คือ คุณน่าจะได้รับการประเมินและประมวลผลก่อนคนที่ลงทีหลัง ทำให้มีโอกาสได้รับเงินช่วยเหลือก่อน ตามที่ภาครัฐแจ้งว่า จะได้รับประมาณ 7 วันในการตรวจสอบว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่

 

ระวังเว็บไซต์ปลอม เรื่องนี้อันตรายมาก

เนื่องจากการลงทะเบียนนั้นจะต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญของตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำมิจฉาชีพสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

(อันที่จริงภาครัฐและคนที่ควบคุมนโยบายตรงนี้ ก็น่าตำหนิหน่อยนึง)

เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าเว็บไซต์หลักก็คือ เราไม่ทิ้งกัน ตามด้วย .com

แต่เนื่องจากชื่อโดเมนเป็นภาษาไทย ซึ่งตามหลักแล้วหากโดเมนไม่เป็นภาษาอังกฤษ การก็อปปี้ชื่อเว็บไซต์แล้วส่งต่อ จะถูกเปลี่ยนชื่อตามมาตรฐานโดเมนสากล เป็นรหัส xn--xxxxxxx

ซึ่งจุดนี้ถือว่าอันตรายพอสมควร และน่าจะเป็นบทเรียนให้ภาครัฐ คิดเรื่องใช้โดเมนภาษาอังกฤษในนโยบายครั้งต่อๆ ไปแทน

นั่นเพราะว่า หากมีคนตั้งชื่อเว็บไซต์ปลอม ตัวอย่างเช่น เราไม่ทิ้งลุง ชื่อโดเมนเวลาส่งต่อก็จะถูกเปลี่ยนเป็น xn-xxxx เช่นเดียวกัน

พอส่งต่อกันไป คนที่ไม่ทันตรวจสอบให้ดีก็จะกดเข้าไป แล้วเผลอกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในเว็บไซต์ปลอมได้โดยไม่เอะใจ

แต่หากเป็นโดเมนภาษาอังกฤษ อาจจะปลอดภัยมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การตั้งชื่อโดเมนว่า RakLungTu แต่คนร้ายทำโดเมนปลอมเป็นชื่อ RakLungPom กรณีนี้จะเห็นชื่อปลอมได้ชัดเจนกว่า

 

อ้อ.. เรื่องเว็บไซต์ปลอมก็ยังไม่จบ เพราะนอกจากจะต้องมาคอยเช็คว่าโดเมนถูกต้องแล้ว ก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่านามสกุลโดเมนถูกอีกหรือไม่

เพราะจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ มีเว็บไซต์ปลอมที่ใช้ชื่อว่า เราไม่ทิ้งกัน แต่ตามด้วยนามสกุลอื่นๆ เช่น .co  .cc  .th  อะไรทำนองนี้เยอะมากกว่า 20 เว็บไซต์

 

ทางที่ดีให้ทุกคนพิมพ์ลงไปตรงๆ เลยว่า เราไม่ทิ้งกัน ตามด้วย .com รับรองว่าได้เข้าเว็บจริงแน่นอน

 

 

ไม่ต้องไปแออัดกันที่ธนาคาร เพื่อเปิดบัญชีใหม่

ช่องทางการรับเงิน ภาครัฐระบุชัดเจนว่ารับได้ทั้งทางพร้อมเพย์ และทางบัญชีธนาคาร

บางคนอาจจะไม่มีพร้อมเพย์ แต่เชื่อว่าหลายคนมีบัญชีธนาคารอยู่แล้ว และเป็นบัญชีของธนาคารใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นธนาคารของรัฐเท่านั้น

เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องไปแออัดกันที่ธนาคารออมสิน หรือธนาคารกรุงไทย เพื่อเปิดบัญชีใหม่ไว้รับเงินช่วยเหลือในส่วนนี้

แถมการไปต่อแถวแออัดในธนาคาร ยังเพิ่มโอกาสเสียงของการรับเชื้อไวรัสมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

 

งบประมาณที่ใช้ในโครงการครั้งนี้

ที่จริงตรงนี้เป็นการลองคำนวณแบบคร่าวๆ เพื่อให้เราได้เข้าใจและรับทราบตัวเลขงบที่จะถูกใช้ในการเยียวยาคนไทยในครั้งนี้มากยิ่งขึ้น

จากตอนแรกที่ทางภาครัฐประเมินไว้ ว่าน่าจะมีคนมาลงทะเบียนและผ่านเกณฑ์ประมาณ 3 ล้านคน

ปรากฏว่าปัจจุบันตัวเลขนั้นสูงถึง 14 ล้านคน และย่อมต้องใช้งบสูงขึ้นตามไปด้วย (แต่ภาครัฐยังยืนยันว่าไหวนะ ใครผ่านเกณฑ์จ่ายได้หมด)

ลองคำนวณคร่าวๆ

สมมติมีคนผ่านเกณฑ์ 3 ล้านคน จะต้องจ่ายเงินรวม 3 เดือนก็ 15,000 บาท  รวมเป็น 45,000 ล้านบาท

สมมติมีคนผ่านเกณฑ์ประมาณ 50% ของคนที่ลงทะเบียนตอนนี้ เท่ากับผ่าน 7 ล้านคน ก็จะต้องใช้งบประมาณ 105,000 ล้านบาท

สมมติผ่านเกณฑ์สัก 80% เลยก็คือประมาณ 11.2 ล้านคน  อาจจะต้องใช้งบสูงถึง 168,000 ล้านบาท

ตรงนี้ไม่ได้จะตำหนิหรือชื่นชมรัฐบาล แต่เพียงให้ผู้อ่านได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่างบในจุดนี้ก็จะอยู่ราวๆ 45,000-200,000 ล้านบาทนั่นเองครับ

 

ใครที่จะได้รับเงิน 5,000 บาทบ้าง!?

ดูเหมือนว่าเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ทางภาครัฐพยายามเน้นย้ำ ว่าคนที่จะได้รับเงินเยียวยาก้อนนี้ จะต้องผ่านทั้ง 3 เกณฑ์หลักๆ ก็คือ

1. เป็นแรงงาน ลูกจ้าง อาชีพอิสระ

2. ไม่ใช่พนักงานประจำที่บริษัททำประกันสังคมให้ (คนที่ส่งเงินประกันตนเอง ยังเข้าเกณฑ์นะ)

3. ข้อนี้สำคัญมาก.. คือต้องได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ยกตัวอย่างเช่น

เราทำงานเป็นพนักงานนวด ร้านนวดโดนสั่งปิด เราก็จะได้รับเงินช่วยเหลือ

เป็นลูกจ้างรายวัน ไม่มีประกันสังคม ไม่มีงานทำเพราะโควิด เราก็จะได้รับเงินช่วยเหลือ

เป็นเทรนเนอร์ฟิตเนส ตอนนี้ฟิตเนสโดนสั่งปิดไม่มีที่เทรนลูกค้าแล้ว เราก็น่าจะได้รับเงินช่วยเหลือ

ทีนี้ก็จะตามมาด้วยคำถามของข้อต่อไปที่ว่า…

 

ใช้อะไรมาวัดว่าเราผ่านเกณฑ์หรือไม่!?

แม้ภาครัฐไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าระบบที่ใช้ตรวจสอบ จะใช้อะไรบ้าง

แต่เชื่อว่าคนลงทะเบียน 14 ล้านคน คงไม่สามารถใช้มนุษย์มานั่งเช็คเอกสารให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วันได้แน่

ในจุดนี้จึงคาดการณ์ว่าภาครัฐน่าจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์และ AI มาช่วยในการประมวลผลให้เสร็จเร็วยิ่งขึ้น โดยอาจจะไปเทียบกับข้อมูลอื่นๆ ที่มีของผู้ลงทะเบียน

ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ประวัติการทำงาน การจ่ายภาษีย้อนหลัง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ระบบที่ใช้งานอาจจะไม่อนุมัติให้คนที่คิดว่าตัวเองผ่านเกณฑ์แน่ๆ ซึ่งจุดนี้ก็ยังมีการเปิดให้อุทธรณ์เช่นกัน

และเชื่อว่า 7 วันหลังจากนี้ กระแสของการลงทะเบียนคงกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกรอบ เพราะย่อมมีทั้งคนที่ได้รับเงิน คนที่คิดว่าตัวเองได้รับแต่ก็ไม่ได้รับ หรือกระทั่งที่คนไม่ควรจะได้รับ แต่กลับได้รับเงินเยียวยา

ถึงตอนนั้นเราต้องมาคอยดูกันอีกทีว่าจะมีปัญหาตามมาเยอะหรือไม่!? และภาครัฐจะมีวิธีจัดการปัญหาเหล่านั้นอย่างไร!?

 

คุณเองล่ะครับ คิดอย่างไรกันบ้าง ลงทะเบียนกันได้หรือไม่ มีเรื่องราวอะไรอยากร่วมพูดคุย ลองมาแชร์กันในคอมเมนต์ต่อเลยครับ..

 

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...