Facebook
Twitter
LINE

เมื่อ Facebook ยอมรับว่าต้อง “เซนเซอร์เนื้อหา” ตามคำขอของรัฐบาลเวียดนาม

ทำไมเรื่องนี้จึงน่าสนใจ!? เราจะขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ครับ…

 

[1. เกิดอะไรขึ้นระหว่าง รัฐบาลเวียดนาม vs Facebook]

ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คนเวียดนามต่างประสบปัญหาในการเข้าใช้งาน Facebook

บางคนเชื่อมต่อได้ช้า บางคนเข้าใช้งานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มีอาการหลุดบ่อย

ปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นกับทุกบริการของ Facebook ซึ่งรวมถึง Messenger, Instagram และ Whatsapp ด้วย

ในตอนแรกทางรัฐบาลเวียดนามให้เหตุผลว่า เกิดจากการซ่อมบำรุงของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ทำให้เกิดปัญหาในการเข้าใช้งาน

แต่อย่างไรก็ตาม.. หลายคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเกิดขึ้นกับ Facebook อย่างเดียว!?

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่ประมาณ 7 สัปดาห์ ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงต้นเดือนเมษายน ในที่สุด Facebook ก็กลับมาใช้งานได้รวดเร็วปกติ

 

จนกระทั่งล่าสุด Facebook ออกมายอมรับกับทางรอยสเตอร์ว่า…

ช่วงเวลาเดือนกว่าๆ ที่มีปัญหาเข้าใช้งานไม่ได้นั้น เพราะอยู่ในช่วงการเจรจากับทางรัฐบาลเวียดนาม

รัฐบาลเวียดนาม ต้องการให้ Facebook ลบโพสต์หรือเซนเซอร์เนื้อหาที่มีลักษณะขัดต่อกฎหมายเวียดนาม ต่อต้านรัฐบาล หรือมีแนวโน้มกระทบความมั่นคง

แต่ Facebook เองก็ยังไม่อยากทำเช่นนั้น

แต่หลังจากผ่านไปนานร่วมเดือน ในที่สุดโซเชียลมีเดียดังกล่าว ก็ต้องยอมรับในคำขอของรัฐบาล เพื่อให้ชาวเวียดนามสามารถใช้งานได้ปกติอีกครั้ง

 

[2. ตลาดเวียดนาม สร้างรายได้ให้ Facebook แค่ไหน!?]

ในปี 2019 ที่ผ่านมา Facebook สามารถทำรายได้ประมาณ 2.26 ล้านล้านบาท มีกำไร 570,000 ล้านบาท โดยมีรายได้จากค่าโฆษณาเป็นหลัก

 

คุณอาจจะไม่รู้ว่า ประเทศเวียดนาม มีผู้ใช้บริการ Facebook ประมาณ 45 ล้านราย จากประชากร 95 ล้านคน

ขณะที่ในไทยเอง ก็มีผู้ใช้ Facebook ประมาณ 45 ล้านรายเช่นกัน จากประชากรไทยประมาณ 70 ล้านคน

 

มีการประเมินว่า ตลาดโฆษณาออนไลน์มีมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านบาท

(ซึ่งนั่นก็เป็นตัวเลขพอๆ กับประเทศไทย ที่ถูกประเมินไว้ประมาณ 20,000 ล้านบาท)

และประมาณ 40% ของเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ในเวียดนาม หรือประมาณ 7,200 ล้านบาท เข้าสู่กระเป๋าของ Facebook

นั่นจะทำให้รายได้จากโฆษณาในเวียดนามคิดเป็นประมาณ 0.35% ของรายได้ทั่วโลก

แม้จะเป็นรายได้ที่ไม่ถึง 1% ของบริษัท แต่ดูเหมือนว่า พวกเขาจะไม่ยอมสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป และทำตามคำขอรัฐบาลเพื่อให้ชาวเวียดนามใช้งานได้อย่างปกติ

“เราจำเป็นต้องทำตาม เพื่อให้มั่นใจว่าคนหลายล้านในเวียดนาม ที่ใช้บริการเราทุกๆ วัน จะยังคงสามารถใช้งานได้อย่างปกติ” นี่คือส่วนหนึ่งของแถลงการณ์จากบริษัท

 

[3. กรณีศึกษา ที่จะเป็นแบบอย่างให้กับรัฐบาลหลายประเทศ]

โดยปกติแล้ว Facebook มักจะเพิกเฉยต่อคำขอให้ลบหรือเซนเซอร์จากทางรัฐบาล ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้มีอิสระที่จะแสดงออกทางความคิด หากไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม

แต่เมื่อมันเป็นเนื้อหาที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม แต่กระทบต่อภาพลักษณ์ หรือความมั่นคงของรัฐบาลล่ะ จะเป็นอย่างไร!?

ในกรณีนี้ เมื่อรัฐบาลเวียดนามขอร้อง(เชิงบังคับ) ด้วยวิธีที่ทำให้การเข้าใช้งานมีปัญหา

ท้ายที่สุด Facebook เลือกปกป้องผลประโยชน์ 0.35% ของบริษัท พร้อมกับรักษาผู้ใช้งาน 45 ล้านคนเอาไว้

 

มีการตั้งข้อสังเกตว่า การออกมายอมรับครั้งนี้ของทาง Facebook อาจจะเป็นต้นแบบให้กับรัฐบาลในอีกหลายประเทศ ในการที่จะใช้ “ไม้แข็ง” เพื่อให้บริษัทยอมทำตาม

แม้ท้ายที่สุดแล้ว Facebook จะยืนยันว่าไม่ได้ยอมทำตามคำขอในทุกเรื่อง และจะพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป

แต่ประเด็นนี้ ก็คงเป็นกรณีศึกษาและตัวอย่างให้กับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้เช่นกัน

คุณคิดอย่างไรในประเด็นนี้บ้างครับ…!?

 

เมื่อ Facebook ยอมรับว่าต้อง "เซนเซอร์เนื้อหา" ตามคำขอของรัฐบาลเวียดนาม#ทำไมเรื่องนี้จึงน่าสนใจ จะขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ…

โพสต์โดย Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน เมื่อ วันพุธที่ 22 เมษายน 2020

 

ติดตาม Billion Mindset ได้ในหลากหลายช่องทาง

– เริ่มจากช่องทางใหม่ล่าสุด อินสตาแกรม https://www.instagram.com/billionmindset.ig/

– ตามต่อในทวิตเตอร์ https://twitter.com/Billion_Twit

– ติดตามเพจ Billion Mindset – แนวคิดพันล้าน อย่าลืมตั้งค่า See First เพื่อไม่ให้พลาดทุกโพสต์ใหม่นะครับ!!

 

ที่มา:

https://www.reuters.com/article/us-vietnam-facebook-exclusive/exclusive-facebook-agreed-to-censor-posts-after-vietnam-slowed-traffic-sources-idUSKCN2232JX

https://www.amnesty.org/en/latest/news/2020/04/viet-nam-facebook-cease-complicity-government-censorship/

https://gizmodo.com/facebook-agreed-to-censor-more-anti-state-posts-in-viet-1842993222

https://napoleoncat.com/stats/facebook-users-in-viet_nam/2018/11

โฆษณาดิจิทัลปีนี้ทะลุ 2 หมื่นล้าน “เฟซบุ๊ก-ยูทูบ” โกยเม็ดเงินครึ่งตลาด

https://marketeeronline.co/archives/76200

Advertisement

แสดงความคิดเห็น...